โดยทั่วไปแล้วในวัฏจักร(cycle)การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมนั้น จะเริ่มจากขั้นตอนของการประเมินความสามารถของหน่วยงานว่าสามารถทำการออกแบบหรือไม่ ทำการสำรวจความต้องการและโอกาสทางการตลาด(initial investigate) จากนั้นจึงทำการออกแบบ(design bread board)โดยอาจใช้วิธีการจำลองการทำงานของวงจรที่ออกแบบโดยการใช้ซอฟแวร์ สร้างวงจรต้นแบบ(prototype design) ทำการทดสอบวงจรต้นแบบโดยการใช้เครื่องมือทำการทดสอบฟังก์ชั่นการทำงาน(functional test) เช่น โปรโตคอล(protocal) เมื่อผ่านการทดสอบฟังก์ชั่นการทำงานแล้วจึงจะทำการ ผลิตวงจรต้นแบบ(production prototype) และนำไปทำการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนด จากรูปจะเห็นได้ว่าแต่ละขั้นตอนของการออกแบบตามวัฏจักรผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายเสมอ ซึ่งจะแปรตามขั้นตอนของวัฏจักร โดยขั้นตอนที่ลึกไปจากต้นทางมากเท่าไรก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามลำดับ
ในการทดสอบฟังก์ชั่นการทำงานของผลิตภัณฑ์ทางโทรคมนาคมว่ามีความเข้ากันได้ กับผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาหรือไม่(Compatibility) จะต้องมีมาตรฐานทางโทรคมนาคมกำกับด้วย สำหรับ RFID มีมาตรฐานที่ใช้ควบคุมฟังก์ชั่งการทำงานที่นิยมคือมาตรฐาน ISO 11784/85 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบในหัวข้อนี้จะได้รับการรับรองว่าสามารถนำไปปฏิบัติงานได้ โดยมีคุณสมบัติทางการรับส่งสัญญาณเป็นไปตามเงื่อนไข หัวข้อการทดสอบความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์นี้รู้จักกันในชื่อของ การรับรองผลิตภัณฑ์(product type approval) หรือ Product Certificate
สำหรับมาตรฐานโทรคมนาคมของสหภาพยุโรปหรือมาตรฐาน ETSI ตามแนวทางของ R&TTE directive และ FCC Part 15.247 นั้นได้กำหนดให้อุปกรณ์ประเภทโทรคมนาคมที่ออกแบบแล้วเสร็จ(final product)จะต้องทำการตรวจสอบคุณสมบัติใน 3 ส่วนหลักคือ
มาตรฐานโทรคมนาคม(Telecommunication Standards)
ขอบข่ายการทดสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (เก่า+ขยาย)
ชื่อห้องปฎิบัติการทดสอบ: ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)
สถานที่ตั้ง : อาคาร PTEC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520