เครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก)
ปัจจุบันสินค้าที่ สมอ. กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้ อยู่ในชีวิตประจำวันหลายๆ ประเภท สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐาน แห่งชาติ มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมอก.ได้นั้น ต้องได้รับการตรวจสอบจากสมอ.แล้วว่ามีคุณภาพเป็นไปตาม ที่กำหนดถ้าผ่าน สมอ.จะออกใบอนุญาตให้ผู้ผลิตแสดงเครื่องหมาย มอก.ที่ผลิตภัณฑ์ของตนได้ หลังจากนั้นสมอ.ก็จะมีการติดตามผลโดยการตรวจสอบระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานและสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ทั้งจากโรงงานสถานที่นำเข้าและสถานที่จำหน่ายมาตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดง เครื่องหมายมอก. จะมีคุณภาพตามมาตรฐานและโรงงานยังสามารถรักษาคุณภาพไว้ได้ตามที่กำหนด
หลักเกณฑ์ตรวจสอบเพื่อขออนุญาต
คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาต ของ สมอ. มีหลักการ 2 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด และ ผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ
หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตประกอบด้วย
1) การดำเนินงานการตรวจสอบเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต
2) การตรวจติดตามภายหลังการออกใบอนุญาต
การดำเนินงานการตรวจสอบเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต มี 2 แบบ ได้แก่
แบบที่ 1 การอนุญาตทั่วไป เป็นการพิจารณาออกใบอนุญาต
(1) การอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ตามมาตรา 16 (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายตามมาตรฐานทั่วไป)
(2) การอนุญาตให้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามมาตรา 20 (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานบังคับ)
(3) การอนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามมาตรา 21 (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานบังคับ
แบบที่ 2 การอนุญาตเฉพาะครั้ง
เป็นการอนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามมาตรา 21 สำหรับการประกอบกิจการนำเข้าเฉพาะครั้ง (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตนำเข้าเฉพาะครั้ง) ใบอนุญาตนำเข้าเฉพาะครั้งมีเพียงบางมาตรฐานเท่านั้น ซึ่งจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เฉพาะในการตรวจสอบเพื่อการอนุญาตกำหนด