ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีบทบัญญัติซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในกิจการโทรคมนาคมอยู่ด้วยกล่าวคือ ม.40 และ ม.335(2)ซึ่งมีบทบัญญัติดังนี้
มาตรา 40 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่งและกำกับดูแล การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา 335 (2) มิให้นำบทบัญญัติ มาตรา 40 มาใช้บังคับ จนกว่าจะมีการตรากฎหมายอนุวัตการให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ทั้งนี้ กฎหมายที่จะตราขึ้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนถึงการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาซึ่งมีผลสมบูรณ์อยู่ใน ขณะที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้นจะมีผล” ต่อมาพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 อันเป็นกฎหมายอนุวัตการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 เพื่อจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 16 ก วันที่ 7 มีนาคม 2543 และใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2543 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีผลให้เกิดองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ 2 องค์กรคือ
1.คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ(กสช.)
2.คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)