บริการทดสอบประสิทธิภาพ

บริการทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน (Energy & Performance Testing)

ด้วยบุคลากรที่เชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทำงานสูง อีกทั้งยังมีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถให้บริการทดสอบได้ตามมาตรฐานระดับชาติและมาตรฐานสากล เราจึงเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบทางด้านประสิทธิภาพและการใช้พลังงานของผลิตภัณฑ์ที่ได้การยอมรับจากหน่วยงานในประเทศ เช่น กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าภูมิภาค เป็นต้น

Test item
  1. Grid tile PV-Inverter acc. MEA, PEA
  2. Energy star
  3. Luminaire Efficacy
  4. Total light Output of LED
  5. Color Characteristic of LED
  6. Luminous Intensity
  7. Label No. 5 acc. EGAT

งานบริการที่ PTEC ให้การทดสอบ

ทดสอบเพื่อการรับรองผลิตภัณฑ์
  1. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  2. เบอร์ 5 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
  3. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  4. การไฟฟ้านครหลวง
  5. กระทรวงพลังงาน
  6. Energy Star
  7. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ครอบคลุมผลิตภัณฑ์
  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
  2. ผลิตภัณฑ์ส่องสว่าง
  3. ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  4. ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
  5. ผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม
มาตรฐาน
  1. มอก. 2545
  2. มอก. 2578
  3. มอก. 2588
  4. มอก. 2589
  5. IEC 62722-2-1
  6. IEC 60530
  7. IEC 62087
  8. IEC 62116
  9. IEC 61727
  10. IEEE 1547
  11. IES LM 79
  12. IES LM 80
  13. IEC 62301
  14. IEC/PES 62612
  15. IEC/PES 62717

ห้องปฏิบัติการ

การทดสอบด้าน EMC สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ที่ PTEC ดำเนินงาน

นอกจากมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ปัจจุบันสหภาพยุโรปยังมีแนวโน้มที่จะบังคับใช้มาตรฐานด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC standards) สำหรับระบบผลิตกำลังไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อีกด้วย เนื่องจากเมื่อระบบนี้ทำงานมักจะผลิตสัญญาณรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้า(noise) ออกไปรบกวนการทำงานของระบบแพร่สัญญาณโทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ฯลฯ ด้วย หรือในบางครั้งปรากฏการ์ฟ้าแล็บ หรือฟ้าผ่า อาจเหนี่ยวนำเข้าสู่ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า ทำให้รูปแบบของกำลังไฟฟ้าที่ผลิตออกมาเกิดการเปลี่ยนแปลงไป หรือทำให้ระบบเสียหายได้ ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อประกอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้โครงสร้างของระบบเป็นเสมือนสายอากาศขนาดใหญ่ที่สามารถรับหรือส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้นั้นเอง ในส่วนนี้ PTEC เป็นหน่วยงานเดียวที่สามารถให้บริการทดสอบนอกสถานที่ได้

การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ เมื่อติดตั้งแล้ว

เนื่องจากเมื่อทำการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ไประยะเวลาหนึ่งแล้ว ประสิทธิภาพในการผลิตกำลังไฟฟ้าจะตกลงตามระยะเวลา โดยอาจมีสาเหตุมาจาก ฝุ่นที่เกาะบนตัวแผง  ร่มไม้ที่โตขึ้นจนบังแสงตกกระทบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ การขาดออกของไดโอดลัดวงจร  สายเคเบิลเสื่อม แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หรืออินเวอร์เตอร์เสียหาย การถูกกระทบด้วยลูกเห็บน้ำแข็ง ฯลฯ

ดังนั้นการซ่อมบำรุงแผงเซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ โดย PTEC ได้จัดตั้งหน่วยทดสอบแบบนอกสถานที่ (on site survey) ขึ้น เพื่อไปดำเนินการสำรวจระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกติดตั้งในบริเวณสถานที่ต่างๆ เพื่อทำการซ่อมบำรุง ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานของระบบให้คงประสิทธิภาพเสมือนเริ่มดำเนินการติดตั้ง  พร้อมนำข้อมูลที่ได้ส่งต่อให้หน่วยงานรับผิดชอบไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ต่อไป  โดยที่ผ่านมา PTEC ได้ทำการสำรวจเพื่อการซ่อมบำรุงระบบผลิตกำลังไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50 สถานี

Performance monitoring measurement, data exchange and analysis (IEC 61724)

monitoring of energy-related photovoltaic (PV) system characteristics,

For the exchange and analysis of monitored data.

The purpose is the assessment of the overall performance of PV systems

การทดสอบอินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ประกอบในระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ทางด้านคุณสมบัติการออกแบบเข้ากับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ (BALANCE-OF-SYSTEM COMPONENTS FOR PHOTOVOLTAIC SYSTEMS)

การทดสอบอินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ประกอบในระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ทางด้านคุณสมบัติการออกแบบเข้ากับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ  เป็นการทดสอบคุณสมบัติส่วนต่างๆของอินเวอร์เตอร์ทั้งด้านการทำงานปกติ ประสิทธิภาพการทำงาน และการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ในสิ่งแวดล้อมสภาวะต่างๆ ที่อาจทำให้คุณสมบัติการทำงานของอินเวอร์เตอร์ลดลง เช่น ทำงานในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น แสงอัลตร้าไวโอเลต การป้องกันฝุ่น น้ำ เป็นต้น

       เพื่อใช้ในการป้องกันแก้ไขสาเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและทำให้ระบบขาดความน่าเชื่อถือ หรือมีอายุการใช้งานสั้นกว่าที่ควรจะเป็น  สำหรับผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์จะดำเนินการตามมาตรฐาน IEC 62093 ed1.0 (2005-03): Balance-of-system components for photovoltaic systems – Design qualification natural environments

 

มาตรฐานอ้างอิงที่ กฟน. นำมาใช้ ได้แก่

IEC 61727-2004 : Photovoltaic (PV) Systems – Characteristics of the Utility Interface

IEC 62116-2008 : Test Procedure of Islanding Prevention Measures for Utility-interconnected Photovoltaic Inverters

IEEE 1547-2003 : Standard for Interconnecting Distributed Resources with Electric Power Systems

IEEE 1547.1-2005 : Standard Conformance Test Procedures for Equipment Interconnecting Distributed Resources with Electric Power Systems

คอมพิวเตอร์กับการใช้พลังงานไฟฟ้า

เมื่อสี่สิบปีก่อนหรือ ราวๆ ปี ค..1962 คอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) มีราคาแพงมากๆ คือเครื่องละประมาณ 50 ถึง 200 ล้านบาท ผู้ที่ซื้อมาใช้งานจะมีเฉพาะหน่วยงานราชการหรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่เท่านั้น   และในการใช้งานจะต้องหาทางทำให้ผู้ใช้งานหลายๆคนใช้พร้อมกัน หรือไม่ก็ให้คนหลายร้อยคนเข้าคิวกันใช้เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและทำให้เกิดความคุ้มค่า  เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ดังนั้นจึงกินกระแสไฟฟ้าปริมาณมหาศาล ทั้งสำหรับการทำงานของเครื่องและการระบายความร้อนขณะเครื่องทำงาน กล่าวกันว่าในตอนเริ่มต้นเครื่องแบบดังกล่าวจะต้องใช้ไฟฟ้าถึง 1MW ซึ่งต้องใช้โรงไฟฟ้าขนาดกลาง 1 โรงทีเดียว   กำลังไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้ในการทำงานหมดไปกับการระบายความร้อน  เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักเป็นทรานซิสเตอร์(transistor) กินกระแสไฟฟ้าสูง โดยเครื่องเมนเฟรมในตอนต้นนี้มีทรานซิสเตอร์เป็นส่วนประกอบเกือบล้านตัว  ดังนั้นเมื่อเครื่องทำงานอุณหภูมิโดยรอบจะสูงมากถึง 70 ถึง 80 องศาเซลเซียล  หากอุณหภูมินี้หากสูงมากกว่า 80 องศาเซียลเซลจะส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้(over heat) ดังนั้นศูนย์คอมพิวเตอร์จึงต้องมีระบบระบายความร้อนทีมีประสิทธิภาพสูงเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย

โดยระบบระบายความร้อนที่ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลายแบบ ทั้งแบบใช้น้ำในการระบายความร้อน(water cooling) โดยการแช่แผงวงจรทรานซิสเตอร์ลงในถังซึ่งอยู่ในน้ำผสมสารระบายความร้อนและตัวถังจะติดครีบระบายอากาศเหมือนกับหม้อน้ำในรถยนต์ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนสูงแต่ใช้งบลงทุนสูงด้วย  แบบที่ 2 ใช้อากาศในการระบายความร้อนโดยการติดตั้งวงจรคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องปรับอากาศซึ่งต้องปรับให้อุณหภูมิต่ำมาก(7 องศาเซียลเซล) ระบบนี้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบที่ 1 มาก  เนื่องจากในสมัยนั้นเครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพต่ำมาก และต้องทำการเปิดระบบปรับอากาศอยู่ตลอดเวลาทำให้ค่าใช้จ่ายสูงเช่นกัน   ระบบที่ 3 เป็นการนำก๊าซเฉื่อยอุณหภูมิต่ำเช่นไนโตรเจนมาทำการหล่อเย็นให้กับเครื่องขณะทำงานระบบนี้ก็ยังใช้พลังงานไฟฟ้าสูงเนื่องจากต้องมีระบบกลั่นตัวและระบบทำให้เป็นไอของก๊าซจะเห็นได้ว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณมหาศาลได้

สิบปีต่อมา (ราวๆ ค.. 1970) จึงมีผู้คิดค้น มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer) ขึ้นมา ทำให้ราคาการลงทุนลดลงมาก คือเหลือเพียง 10-20 ล้านบาท และสามารถใช้งานกันได้พร้อมกันถึงประมาณ 4-8 คน  คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนกระทั้งปี ค.. 1975 มีคนสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลออกมา สำหรับใช้หนึ่งคนหนึ่งเครื่อง ซึ่งสะดวกสบายในการใช้งาน และราคาไม่แพง ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้  แต่ถึงแม้ว่าบุคคลทั่วไปจะสามารถเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้ เนื่องจากราคาถูกลง แต่คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ยังมีความสำคัญอย่างมากและยังถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทขนาดใหญ่ หน่วยงานเหล่านี้ได้แก่ สถาบันการเงิน การไฟฟ้า ทะเบียนราษฎ์ หน่วยงานด้านการทหารความนั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 1000 แห่งในประเทศ  เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ยังจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล และมีข้อมูลที่จัดเก็บจำนวนมหาศาล ซึ่งคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไม่สามารถทำได้  และเพื่อที่จะมีคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงไว้ใช้งาน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนขนาดใหญ่จึงต้องลงทุนสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์(computer center) หรือศูนย์ข้อมูลกลางขึ้น โดยใช้งบประมาณที่สูงมาก และต้องติดตั้งซูเปอร์ คอมพิวเตอร์(super computer) ขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลได้  ในการใช้งานระบบศูนย์คอมพิวเตอร์นี้ต้องทำการติดตั้งระบบระบายความร้อนและอากาศขนาดใหญ่ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างปกติเช่นกัน

วิกฤตโลกร้อนกับการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

ในอดีตการบริโภคพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานไม่ใช่เรื่องที่ได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากเชื้อเพลิงมีราคาถูกมากส่งผลให้ค่าไฟฟ้ายอมรับกันได้ และยังคุ้มต่อการลงทุนดำเนินงานในทางธุรกิจ  แต่เหตุการณ์ในปัจจุบันเป็นไปในทางตรงข้าม จากกระแสโลกร้อน(global warming) ทำให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีศูนย์คอมพิวเตอร์ ต้องหันมาให้ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากราคาค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอย่างมาก กรอปกับ ระบบคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถปิดระบบคอมพิวเตอร์ได้ตลอดปี  จากการสำรวจของหน่วยงานด้าน ไอ ซี ที่ พบว่าบางหน่วยงานไม่เคยปิดระบบคอมพิวเตอร์เลยเป็นเวลาต่อเนื่องหลายๆ ปี เช่น ระบบ ATM ของธนาคาร ระบบควบคุมหลักของการสื่อสารโทรศัพท์ มหาวิทยาลัย ฯลฯ  ทำให้ในแต่ละปีหน่วยงานเหล่านี้จำเป็นต้องจ่ายค่าไฟฟ้าจำนวนมหาศาล ซึ่งเมื่อรวบหน่วยงานขนาดใหญ่เหล่านี้ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1000 หน่วยงานเข้าด้วยกันแล้ว จะพบว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ เช่น ยุโรป สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการใช้งานพลังงานไฟฟ้าจากส่วนศูนย์คอมพิวเตอร์ถึงร้อยละ 8 ถึงร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในระบบอื่นๆ   ปัจจุบันซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าหมดไปกับระบบทำความเย็นถึงประมาณร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 50 ของไฟฟ้??าที่จำเป็นในการใช้พลังงานอุปกรณ์ The institute aims to reduce power consumption by 40 percent in a new supercomputer with the natural cooling materials. ดังนั้นหลายสถาบันการศึกษาทั่วโลกจึงมีจุดมุ่งหมายพัฒนาระบบเพื่อลดการใช้พลังงานให้ได้ร้อยละ 40 โดยการพัฒนาเทคนิคใหม่สำหรับระบายความร้อนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ความเย็นตามธรรมชาติ If successful, a supercomputer with a superior energy-saving system will be created. หากประสบความสำเร็จในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ นี้จะสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมาก

จากกระแสโลกร้อนและการแข่งขันระดับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ของโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ยังคงต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นสิ้นเปลืองมากขึ้นนี่เอง    หลายหน่วยงานโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปกำลังให้ความสนใจการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์ เช่น ที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งซูริค(ETH) สังกัดรัฐบาลกลางสวิสเซอร์แลนด์และบริษัท IBM ได้ร่วมกันประกาศแผนที่จะสร้างระบบระบายความร้อนชนิดน้ำแบบใหม่สำหรับคอมพิวเตอร์โดยอาศัยความร้อนส่วนเกินจากอาคารของมหาวิทยาลัย ระบบนี้ถูกเรียกว่า Aquasar ระบบดังกล่าวมาพร้อมกับระบบนวัตกรรมน้ำหล่อเย็นและนำมาใช้ลดความร้อนโดยตรงกับซูเปอร์แบบใหม่ ซึ่งจะตั้งอยู่ที่ ETH Zurich และมีการวางแผนเพื่อเริ่มต้นการดำเนินงานในปี 2010 จะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยรวมลงร้อยละ 40 The system is based on long-term joint research collaboration of ETH and IBM scientists in the field of chip-level water-cooling, as well as on a concept for “water-cooled data centers with direct energy re-use” advanced by scientists at IBM’s Zurich Lab. และคาดว่าจะสามารถลดกระบวนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์หรือ รอยเท้าคาร์บอน(carbon footprint) ได้สูงถึง ร้อยละ 85 หรือประมาณ 30 ตันต่อปีเมื่อเทียบกับระบบแบบเดิมที่ใช้เครื่องปรับอากาศธรรมดา

ในแถบเอเซียก็เกิดการตื่นตัวเช่นกัน เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้วางแผนการที่จะพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีระบบระบายความร้อนที่ใช้น้ำจากธารหิมะน้ำแข็งและน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่อากาศหนาวเย็น Amid the intensifying global competition over supercomputers, one significant technological hurdle is that the larger a super-computer, the more electricity it consumes. ในโครงดังกล่าวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กจะถูกวางไว้ในภาชนะพิเศษและถูกระบายความร้อนด้วยอากาศอุณหภูมิต่ำ(7 องศาเซียลเซล) โดยใช้น้ำบาดาลเย็น, หิมะและน้ำแข็ง เพื่อทดสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างมีมีเสถียรภาพหรือไม่ If successful, the institute will consider placing a larger computer at Hokkaido University. หากโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จสถาบันจะพิจารณาปรับใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มหาวิทยาลัยฮกไกโด IBM’s research lab in Zurich has built a supercomputer system utilizing water-cooling, which reduced electricity consumption by about 40 percent. Currently, supercomputer cooling systems consume about 30 percent to 50 percent of the electricity necessary to power the devices.In the project, a container with a small computer inside will be placed on the campus of Hokkaido University.แต่สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วไปการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์และศูนย์ข้อมูลแบบเดิมใช้พลังงานงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่า หน่วยงานต่างๆ ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องลดลงได้ร้อยละ 50 จากเดิม

จะเห็นได้ว่าทุกหน่วยงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าหน่วยงานขนาดใหญ่ องค์กรภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ฯลฯ กำลังใช้ความพยายามในทุกๆด้าน เพื่อทำให้วิกฤตโลกร้อนน้อยลง ไมเว้นแม้แต่ ในศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากในแต่ละปีศูนย์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ ไม่เคยหยุดดำเนินการเลยและใช้พลังงานไฟฟ้าสิ้นเปลืองจำนวนมหาศาลต่อปี

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

จากการถือกำเนิดของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทำให้เกิดโครงข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายอยู่ทั่วโลก โครงข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่นี้เองกำลังถูกมองว่าจะถูกใช้แทนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือใช้แทนศูนย์ข้อมูลใหญ่ๆ ในอนาคต   เราเรียกเทคโนโลยีที่มีการเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายและสามารถถ่ายเทข้อมูลจำนวนมหาศาลแบบนี้ว่า Cloud Computing  เนื่องจากมีข้อมูลมากมายมหาศาล กระจายอยู่ทุกที่ และโปรแกรมที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายก็สามารถที่จะเชื่อมโยงกับข้อมูลจากหลายๆที่ในเวลาเดียวกัน  ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (หรือการนำซอร์ฟเวอร์เล็กๆหลายร้อยตัวมาทำงานร่วมกัน) ก็สามารถทำได้  การทำงานมารวมกันนี้จึงเสมือนเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน ผลที่ได้ก็คือ บริการข้อมูลที่มหัศจรรย์ราวกับว่าโลกทั้งโลกเป็นของเรา อยากได้อะไร มันก็หลั่งไหลลงมาราวกับลงมาจากท้องฟ้า โดยไม่จำเป็นต้องรู้ที่มาเลย  และอะไรที่ได้มาโดยไม่ทราบแหล่งที่มาว่าจริงๆแล้วมาจากที่ไหน ฝรั่งจึงใช้ชื่อเรียกว่า มันมาจากก้อนเมฆ แต่สำหรับคนไทยหลายคนไม่ใคร่ชอบคำว่ามาจากก้อนเมฆ เลยเรียกว่าคลาวด์คอมพิวติ้ง” (cloud computing) ในด้านเทคนิคนั้นระบบ cloud computing มีสองส่วน คือส่วนเครือข่ายความเร็วสูง ที่เชื่อมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนเข้าด้วยกัน และส่วนที่เป็น server ซึ่งต่อกับอินเทอร์เน็ต และพร้อมที่จะต้อนรับลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาทางอินเทอร์เน็ตจำนวนหลายร้อยหลายพันคนพร้อมๆกัน เครื่อง server เหล่านี้ มีพลังสูงและมีข้อมูลมากมายพอที่จะบริการแต่ละอย่างได้ด้วยความเร็ว โดยแทบจะไม่มีงานอะไรที่เสร็จช้ากว่า 2 วินาทีเลย  สำหรับด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลนั้นระบบ cloud computing ใช้ไฟล์วอล(file wall) ที่ทรงประสิทธิภาพสูงมาก ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลจะถูกเจาะ เพราะจะมีแต่เครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่แต่ละหน่วยงานติดตั้งเท่านั้นที่สามารถอ่านข้อมูลทั้งหมดได้

สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการประมวลผลแบบ Could computing มีดังนี้

1.(scalability) on demand

2.super computer server

3.(high security) (high reliability)

Cloud computing กับการใช้พลังงานไฟฟ้า

เมื่อมองจากการใช้พลังงานไฟฟ้าแล้ว การกระจายคอมพิวเตอร์ออกเป็นเครื่องเล็กหลายๆ เครื่องและให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นโครงข่าย  มีข้อดี คือ มันใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่(super computer) เพื่อทำทำงานเดียวกัน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างระบบระบายความร้อนขนาดใหญ่อีกต่อไป นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในเครืองข่ายอื่นๆยังสามารถปิดเครื่องของตนได้ตลอดเวลา โดยที่ข้อมูลไม่สูญหายไปได้อีกด้วย ทำให้เกิดประหยัดพลังงานได้มากขึ้นอีกด้วย    

        คลาวด์คอมพิวติ้งจะเป็นคลื่นลูกใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับโครงข่ายคอมพิวเตอร์ในอนาคต อย่างแน่นอน ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องมีศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าปริมาณมหาศาลก็อาจเป็นได้